เรียน T-SQL และ Stored Procedure กับลาภลอย

 

เรียน T-SQL & Stored Procedure  กับลาภลอย

หลักสูตรพัฒนาคิวรีและสโตร์โพรซีเจอร์ในภาษาทีเอสคิวแอล

เพื่อการสร้างโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจ

COURSE DESCRIPTION 

หลักสูตรพัฒนาคิวรีและสโตร์โพรซีเจอร์ในภาษาทีเอสคิวแอลเพื่อการสร้างโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจ หลักสูตรนี้ไม่ใช่การเขียนโปรแกรมในวินโดวส์หรือการเขียนโปรแกรมในเว็บ แต่เป็นหลักสูตรที่เน้นการคิวรีข้อมูลจากฐานข้อมูลไมโครซอฟต์เอสคิวเอล ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และเข้าใจหลักการพื้นฐานที่สำคัญหลายอย่าง ที่จำเป็นต้องมีเพื่อใช้สำรวจแง่มุมต่างๆ ของการทำงานกับฐานข้อมูลสัมพันธ์ อาธิ แนวคิดรวบยอดที่อยู่เบื้องหลังภาษาทีเอสคิวแอล โครงสร้างของภาษาทีเอสคิวแอล ขอบเขตของตัวแปร การค้นหาข้อผิดพลาดในโค้ด การสร้างและใช้งานตารางสืบ การสร้างและใช้งานตารางไพวอต การสร้างและใช้งานเมตริกซ์ วิธีพัฒนาคิวรีตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงระดับที่ซับซ้อน กลเม็ดเด็ดพรายในการพัฒนาคิวรีที่ใช้จริงในงานพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน

สโตร์โพรซีเจอร์นับเป็นหัวข้อที่สำคัญมากในการคิวรีข้อมูลจากฐานข้อมูลไมโครซอฟต์เอสคิวแอล หน่วยงานน้อยใหญ่จำนวนมากใช้สโตร์โพรซีเจอร์เป็นแกนหลัก หลักสูตรนี้ให้น้ำหนักกับการพัฒนาสโตร์โพรซีเจอร์เป็นสำคัญ ผู้เรียนจะได้รับการฝึกฝนให้สามารถสร้าง แก้ไข ค้นจุดผิดของสโตร์โพรซีเจอร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจในยุคปัจจุบันได้ทั้งแบบในวินโดวส์และแบบในเว็บ และหัวข้อที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มองข้ามไปไม่ได้คือการพัฒนาโค้ดฐานข้อมูลแบบวัตถุวิธี (โอโอพี) เช่นการนิยามสโตร์โพรซีเจอร์ด้วยภาษาซีชาร์พ และการเข้าถึงฐานข้อมูลด้วย โออาร์/เอ็มและลิงค์

วันที่ ๑: วิธีเขียนคิวรีด้วยภาษาทีเอสคิวแอล

การเขียนคิวรีด้วยภาษาทีเอสคิวแอลมีแนวคิดพื้นฐานที่แตกต่างจากการเขียนโปรแกรมวัตถุวิธีอย่างในภาษาซีชาร์พ (หรือภาษาโปรแกรมมิงอื่นๆ) โดยสิ้นเชิง ในภาษาซีชาร์พจะเน้นการสร้างวัตถุและกระบวนการทำงาน ในขณะที่ภาษาทีเอสคิวเอลเน้นผลลัพธ์และแนวคิดแบบเซต (การจัดกลุ่มทางคณิตศาสตร์)

ในวันที่หนึ่งผู้เรียนจะปรับความคิดในการเขียนโค้ด จากความคิดที่เน้นการสร้างวัตถุและกระบวนการทำงาน มาเป็นความคิดที่เป็นแบบเซต เพื่อเข้าพร้อมเข้าสู่โลกแห่งการเขียนคิวรีในภาษาทีเอสคิวเอล นอกจากนั้นผู้เรียนยังจะได้เรียนรู้หลักการสำคัญพื้นฐานในภาษาทีเอสคิวเอลอีกหลายหัวข้อ อาธิ การเขียนโปรแกรมเป็นแบชต์ วิธีใช้ตัวแปร โครงสร้างของโค้ด วิธีสร้างและบำรุงฐานข้อมูลด้วยโค้ด ฯลฯ

  • หน่วย ก: แนะนำโครงสร้างหลักสูตร และ (แถมท้าย) ด้วยหลักจารีตนิยมในภาษาทีเอสคิวแอล
  • หน่วย ข: วิธีใช้ตัวแปรในภาษาทีเอสคิวแอล โครงสร้างของโค้ด และส่วนควบคุมการไหลของโค้ด
  • หน่วย ค: วิธีใช้คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและบำรุงฐานข้อมูลด้วยโค้ด
  • หน่วย ง: วิธีเขีนโค้ดเพื่อการสืบค้นฉายแสดงข้อมูลระดับสูง วิธีเขียนคิวรีในแง่มุมต่างๆ ที่สำคัญ
 

วันที่ ๒:  เรียนรู้ภาษาทีเอสคิวแอลระดับที่สูงขึ้น

เนื่องจากงานพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจในยุคปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น มีความต้องการสืบค้นฐานข้อมูลอย่างซับซ้อน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากท่านจะพบเห็นคิวรีที่มีความยาวหลายร้อยบรรทัด หรือยืดยาวหลายหน้าจอ ดังนั้นในวันที่สองนี้ผู้เรียนจะได้เรียนวิธีเขียนคิวรีในหัวข้อต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเขียนคิวรีในงานที่มีความซับซ้อนสูง

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนในวันที่สองเป็นเทคนิคที่สำคัญและใช้บ่อยในการเขียนคิวรีซับซ้อน เช่นการยักย้ายถ่ายเทข้อมูลตัวอักษร การใช้ฟังก์ชันคณิตศาสตร์ การบริหารเวลา วิธีสร้างรายงานโดยใช้คำสั่งในกลุ่มคิวบ์และไพวอต วิธีสร้างเมตริกซ์ วิธีเขียนคิวรีซ้อนคิวรี และกลเม็ดที่สำคัญอื่นๆ เพื่อการเขียนคิวรีอย่างมีพลวัต

  • หน่วย ก: วิธียักย้ายถ่ายเทข้อมูลตัวอักษร การใช้ฟังก์ชันคณิตศาสตร์ การบริหารเวลา
  • หน่วย ข: วิธีสร้างรายงานอย่างง่ายโดยใช้คำสั่งในกลุ่มคิวบ์และไพวอต
  • หน่วย ค: วิธีสร้างเมตริกซ์ และกลเม็ดเพื่อการเขียนโค้ดอย่างมีพลวัต
  • หน่วย ง: วิธีเขียนคิวรีที่ซ้อนกันหลายชั้น
   

วันที่ ๓: วิธีสร้างและใช้งานสโตร์โพรซีเจอร์

สโตร์โพรซีเจอร์คือออพเจ็กต์ฐานข้อมูล ที่ถูกนำไปใช้งานในโครงการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจที่สำคัญแทบทุกโครงการ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะสโตร์โพรซีเจอร์เป็นกลไกหลักที่ทำให้เกิด "การเชื่อมหลวม" ซึ่งเป็นหลักการสำคัญอย่างหนึ่งในงานวิศวกรรมซอต์แวร์  ทักษะในการสร้างและใช้งานสโตร์โพรซีเจอร์ จึงเป็นคุณสมบัตหลักข้อหนึ่งของผู้ที่จะรับหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจ

ในวันที่สามนี้ผู้เรียนจะได้สำรวจกลเม็ดเด็ดพรายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและใช้งานสโตร์โพรซีเจอร์ อาธิ วิธีนิยามสโตร์โพรซีเจอร์ วิธีเรียกใช้สโตร์โพรซีเจอร์ด้วยคำสั่งในภาษาทีเอสคิวเอล วิธีนิยามสโตร์โพรซีเจอร์แบบมีพารามิเตอร์ นอกจะมีเรื่องสโตร์โพรซีเจอร์แล้วในวันที่สามนี้ ยังมีเรื่องสำคัญในการเขียนคิวรีภาษาทีเอสคิวเอลอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือวิธีนิยมฟังก์ชันขึ้นใช้เอง

  • หน่วย ก: วิธีนิยาม จักการ และเรียกใช้งานสโตร์โพรซีเจอร์
  • หน่วย ข: วิธีนิยามสโตร์โพรซีเจอร์แบบมีพารามิเตอร์และมีค่าส่งกลับ
  • หน่วย ค: กลเม็ดเด็ดพรายต่างๆ ในการเขียนโค้ดสโตร์โพรซีเจอร์
  • หน่วย ง: วิธีนิยาม จัดการ และเรียกใช้งานฟังก์ชันที่ผู้ใช้นิยามขึ้นเอง

 

วันที่ ๔: วิธีใช้งานทีเอสคิวเอลร่วมกับดอตเน็ต

โปรแกรมไมโครซอฟต์เอสคิวเอลเซอฟเวอร์ตั้งแต่เวอร์ชันสองพันห้าขึ้นไปมีนวัตกรรมอันวิเศษอยู่หลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการมีตัวรันทามน์ของดอตเน็ต (ซีเอลอาร์) ฝังอยู่ภายในด้วย นั่นหมายความว่าท่านสามารถนิยามออพเจ็กต์ทางด้านโปรแกรม (อาธิ ทริกเกอร์ และฟังก์ชันที่ผู้ใช้นิยามเอง) ได้ด้วยภาษาซีชาร์พ ทำให้นอกจากออพเจ็กต์ทางด้านโปรแกรมเหล่านี้ทำงานอยู่ภายในสภาพแวดล้อมที่ได้รับการดูแลจัดการ (จากไมโครซอฟต์เอสคิวเอลเซอฟเวอร์) เป็นอย่างดีแล้ว พวกมันยังมีภาวะเป็นสแตติกไทปเซฟโดยสมบูรณ์อีกด้วย

ในวันที่สี่นี้ท่านจะได้เรียนวิธีใช้ประโยชน์จากบูรณาการซีเอลอาร์ของไมโครซอฟต์เอสคิวเอลเซอฟเวอร์ อาธิ การเขียนโค้ดเพื่อนิยามสโตร์โพรซีเจอร์โดยใช้หลักการวัตถุวิธีด้วยภาษาซีชาร์พ การเขียนโปรแกรมแบบวินฟอร์มและเว็บฟอร์มเพื่อติดต่อกับฐานข้อมูลโดยใช้หลักการวัตถุวิธี วิธีเรียกใช้งานสโตร์โพรซีเจอร์จากภายในโปรแกรมแบบวินฟอร์มและเว็บฟอร์ม

  • หน่วย ก: วิธีเรียกใช้งานสโตร์โพรซีเจอร์จากโปรแกรมประยุกต์ภาษาซีชาร์พร่วมกับ โออาร์/เอ็ม
  • หน่วย ข: วิธีประยุกต์ใช้งานสโตร์โพรซีเจอร์ร่วมกับเว็บแอพลิเกชัน
  • หน่วย ค: วิธีเขียนโค้ดเพื่อนิยามสโตร์โพรซีเจอร์โดยใช้หลักการวัตถุวิธีด้วยภาษาซีชาร์พ
  • หน่วย ง: กลเม็ดในการใช้สโตร์โพรซีเจอร์เพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจ

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.